สนช.มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. เจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. ….แล้ว

สนช.มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. เจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. ….แล้ว

 

วันนี้ (8 กุมภาพันธ์ 2562) ที่ประชุม สนช. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ. เจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. …. และเห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว จะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา สำหรับการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป สนช.จะส่งร่าง พ.ร.บ.ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
สำหรับรายละเอียดร่าง พระราชบัญญัติ เจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. ….โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยเจ้าพนักงานตำรวจศาล พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๘ มาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพ มีเจ้าพนักงานตำรวจศาลทำหน้าที่รักษาความสงบ เรียบร้อย ความปลอดภัยแก่ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม และจับกุมผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หลบหนี และผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งศาล ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว

 


มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติเจ้าพนักงานตำรวจศาล พ.ศ. ….”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ศาล” หมายความว่า ศาลยุติธรรม “เจ้าพนักงานตำรวจศาล” หมายความว่า บุคคลที่เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมจัดให้มีเจ้าพนักงานตำรวจศาลในจำนวน ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และความไม่ซ้ำซ้อน

มาตรา ๕ เจ้าพนักงานตำรวจศาลมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (๑) รักษาความสงบเรียบร้อยและรักษาความปลอดภัยบุคคลและทรัพย์สินในบริเวณศาล (๒) ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดในบริเวณศาล (๓) รักษาความปลอดภัยและคุ้มครองข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พนักงานและลูกจ้างของศาลและสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำหรือได้กระทำการตามหน้าที่ รวมทั้งอาคารสถานที่ และทรัพย์สินของศาลและสำนักงานศาลยุติธรรม (๔) ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการแจ้งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับผู้ต้องหา หรือจำเลยที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยศาลแล้วหนีหรือจะหลบหนี หรือถ้ามีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถ ขอความช่วยเหลือจากพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ทันท่วงที ก็ให้มีอ านาจจับผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นได้ และเมื่อจับได้แล้ว ให้นำผู้ถูกจับไปยังศาลโดยเร็ว (๕) เมื่อศาลได้ออกหมายจับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งศาล ให้ศาลมีคำสั่ง ตั้งเจ้าพนักงานตำรวจศาลเป็นผู้จัดการตามหมายจับ และหากศาลเห็นสมควร ศาลอาจให้พนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้จัดการตามหมายจับด้วยโดยมีเจ้าพนักงานตำรวจศาลเป็นผู้สนับสนุนก็ได้

 


มาตรา ๖ ผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจศาล ต้องมีคุณสมบัติและไม่มี ลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ (๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๔) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใด ๆ ในพรรคการเมือง (๖) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการ ข้าราชการศาลยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มี ลักษณะต้องห้ามตามวรรคหนึ่งและผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่คณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมประกาศกำหนดเป็นเจ้าพนักงานตำรวจศาล

มาตรา ๗ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา๕ (๑)(๒ )และ(๓ ) สำนักงานศาลยุติธรรมอาจขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ได้ตามความจำเป็น
มาตรา ๘ การใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ และเป็นเรื่องความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
มาตรา ๙ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สำนักงานศาลยุติธรรม ได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยุทธภัณฑ์เช่นเดียวกับราชการทหารและตารวจ ตามกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้ ก ารมีและใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง สิ่งเทียมอาวุธปืน และยุทธภัณฑ์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมกำหนด
มาตรา ๑๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานตำรวจศาล เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และให้มีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๑ ให้ประธานศาลฎีการักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

 

Related posts