การถ่ายทอดเทคโนโลยีการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เขตสุขภาพที่ 3

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง เขตสุขภาพที่ 3

ณ โรงแรมแกรนด์ฮิลล์ จังหวัดนครสวรรค์(นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์)ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ ๓ นายแพทย์อากาศ พัฒนเรืองไล : ที่ปรึกษากรมการแพทย์ นายแพทย์สุระชัย โชคครรชิตไชย ผอ.สาธารณะสุขจังหวัดอุทัยธานี จากการที่กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง โดยเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมีความชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ จนถึงปัจจุบัน กระทรวงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองจนผลักดันให้เป็นตัวชี้วัดเชิงปริมาณตัวที่ ๓๙ ร้อยละของโรงพยาบาลที่มีการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) ขึ้นเป็นปีแรกของตัวชี้วัดนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มสูงมากขึ้น ซึ่งโรคเรื้อรังเหล่านี้ยากที่จะรักษาให้หายขาด ผู้ป่วยจำนวนมากต้องทุกข์ทรมานกับการรักษาเพื่อยื้อชีวิตในระยะสุดท้าย หรือไม่ก็ทรมานเพราะอาการเจ็บปวดเนื่องจากไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ เพื่อให้ผู้ป่วยที่ต้องการดูแลแบบประคับประคองมีคุณภาพชีวิตที่ดีและบรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวนอย่างต่อเนื่องจนถึงวาระสุดท้าย

โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้หน่วยบริการทางการแพทย์ได้มีการจัดตั้ง Palliative Care team แบบสหวิชาชีพที่ผ่านการฝึกอบรมในการดูแลผู้ป่วยดังกล่าว ให้ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนผ่านจากการรักษาให้หายสู่การรักษาแบบประคับประคองได้อย่างราบรื่น และจัดการอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ผู้ป่วยใช้เวลาที่เหลือได้อย่างมีคุณภาพ และวางแผนการรักษาเพื่อตอบสนองในสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ นอกจากนี้ยังดูแลเรื่องของจิตใจ รวมถึงอุปกรณ์การแพทย์ที่ต้องใช้หากผู้ป่วยต้องการกลับบ้าน และการมีเครือข่ายที่ดีทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การดูแลอย่างมีแนวทางที่เป็นมาตรฐานเดียวกันตั้งแต่สถานบริการทางการแพทย์สู่ชุมชนและครอบครัว ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการวางแผนและดำเนินการร่วมกันทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ ในฐานะกรมวิชาการกรมการแพทย์จึงได้จัดทำแนวทางการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ต่อมาดำเนินการเพิ่มในกลุ่มรายโรคเรื้อรังที่ต้องการดูแลแบบประคับประคองด้วยจึงจัดทำ Functional Unit and List Disease for Palliative Care กรมการแพทย์ ขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงาน


ทั้งนี้เพื่อเป็นการสื่อสารทำความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ภาพรวมของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อการศึกษา พัฒนาต้นแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ที่มีรูปแบบการดูแลรักษาบูรณาการจากครอบครัว ชุมชน และโรงพยาบาล ให้ใช้เป็นแนวทางที่มีความครอบคลุม ครบถ้วน จึงเห็นสมควรจัดประชุมการถ่ายทอดเทคโนโลยีการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ในทุกภูมิภาคของประเทศ แต่เนื่องจากเหตุผลความจำเป็นด้านงบประมาณ ปี ๒๕๖๐ สามารถดำเนินการได้ ๒ เขต คือ เขตสุขภาพที่ ๑ และ ๓ ในเบื้องต้นก่อน สำหรับเขตสุขภาพที่เหลือจึงเป็นการพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมในโอกาสต่อไป
การประชุมครั้งนี้ผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญและผู้รับผิดชอบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในเขตสุขภาพที่ ๓ ทุกโรงพยาบาลในระดับ A, S, M1-2, F1-3 ทั้งหมด ๕ สสจ. และ ๕๒ โรงพยาบาล จำนวน ๑๓๐ คน


กรมการแพทย์ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากเขตสุขภาพที่ ๓ ที่มีการดำเนินการด้านการดูแลแบบประคับประคองอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านประธาน Service plan สาขาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย นายแพทย์สุรชัย โชคครรชิตไชย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุทัยธานี ซึ่งมีข้อมูลของเขตสุขภาพที่ ๓ ได้มีการวิเคราะห์ SWATและจัดทำแผนการดำเนินการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในเบื้องต้น และเพื่อการสื่อสารรายละเอียดตาม Template ตัวชี้วัดดังกล่าวข้างต้น ให้มีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งกรมการแพทย์ได้ทำการศึกษาดูงานต้นแบบการดำเนินการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในบางหน่วยงานของเขตสุขภาพที่ ๗ และ ๘ จึงขอนำเสนอตัวอย่างรูปแบบเหล่านั้นในการประชุมครั้งนี้ด้วย กรมการแพทย์ได้รับเกียรติจากวิทยากรของศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น และโรงพยาบาลเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด รวมถึงสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์


กณต ทาทิพย์ รายงาน
นครสวรรค์

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก หนังสือพิมพ์ สยามโฟกัสไทม์ http://www.siamfocustimenews.com

Related posts