ศรชล. ฝึกเข้มภาคสนาม ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเล (ชมคลิปคลิกๆ)

ศรชล. ฝึกเข้มภาคสนาม ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและความมั่นคงทางทะเล

 

เวลา 10.00 น.วันนี้ (10 ส.ค.) พลเรือเอก พิเชฐ ตานะเศรษฐ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ผอ.ศรชล.) / เสนาธิการทหารเรือ เป็นประธานชมการสาธิต และปิดการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล FTX ศรชล. ผนวกกับการฝึก FTX C-MEX18 ประจำปีงบประ มาณ 2561 บนเรือหลวงอ่างทอง บริเวณอ่าวไทยตอนบน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยมี พลเรือโท บรรจบ โพธิ์แดง ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ชองชาติทางทะเลเขต 1 ให้การต้อนรับ
สำหรับการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล FTX ศรชล. ผนวกกับการฝึก FTX C-MEX 18 ประจำปีงบประมาณ 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความคุ้นเคย ในการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆภายใน ศรชล.แบบบูรณาการ ในการเตรียมความพร้อมการยกระดับ ศรชล.เป็นศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และเป็นการฝึกภายใต้กรอบแนวความคิดตามนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2558 – 2564 และการฝึกการบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติฯ ด้านการบริหารจัดการภายในความมั่นคงทางทะเล (C – MEX 18) โดยได้กำหนดหัวข้อการฝึกหลักจากภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางทะเล จำนวน 2 หัวข้อ ได้แก่ 1.การต่อต้านเรือสินค้าที่ถูก Sanction โดยองค์การสหประชาชาติ ซึ่งลักลอบบรรทุกวัตถุที่ใช้ได้ 2 ทาง (Dual-Uses goods) มายังน่านน้ำไทยโดยผิดกฎหมาย และ 2.เรือประมงไทยที่เปลี่ยนสัญชาติเป็นเรือประมงชาติอื่น (Flag State) แต่ยังคงลักลอบเข้ามาทำการประมงโดยผิดกฏหมาย และกระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆในน่านน้ำไทย


โดยสถานการณ์แรกเป็นการฝึกการตรวจค้นเรือสินค้าที่มีการบรรทุกวัตถุอันตราย หรือวัตถุต้องสงสัยเข้ามาในราชอาณาจักร แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน ศรชล. จะต้องออกปฏิบัติการร่วมกัน และแต่ละหน่วยก็มีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป โดย ศรชล. สั่งการให้ติดตามเรือสินค้า ขนาดประมาณ 8,000 ตันกรอส สัญชาติมองโกเลีย ซึ่งไม่อยู่ในบัญชีเรือต้องห้ามของ UN ได้ออกเดินทางจากประ เทศโสมแดง โดยมีข้อมูลจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือว่ามีการบรรทุกปุ๋ยโปแตสเซียม ซึ่งมีสารกัมมันต ภาพ รังสี (ซีเซียม) CBRN ซึ่งหมายถึงสารเคมี สารชีวภาพ รังสี และนิวเคลียร์ ซึ่งทั้งหมดจัดเป็นอาวุธทำลายล้างสูง โดยจัดส่งหน่วยกำลังซีลเข้าควบคุมการเดินเรือ และกำลังคนบนเรือ จากนั้นจึงส่งหน้าที่ต่อให้กับเจ้าหน้าที่ชุดสหวิชาชีพ ซึ่งมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลร่วมกัน โดยกรมเจ้าท่าจะเข้าตรวจเอกสารประจำเรือและเอกสารส่วนบุคคล ศุลกากรตรวจเอกสารการนำเข้าและส่งออกสินค้า รวมถึงเปิดห้องที่คาดว่าจะใช้เก็บหรือบรรทุกสาร CBRN กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือทำการพิสูจน์ทราบวัตถุเคมีและรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติตรวจยืนยันรังสีและกำกับดูแลการใช้วัสดุกัมมัน ตรังสี การตรวจค่ารังสีต่างๆ โดยจะมีเครื่องมือที่แตกต่างกันและต้องตรวจวัดพื้นที่โดยรอบของห้อง จากนั้น เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะเป็นผู้ดำเนินการเปิดตู้ห้อง โดยบันทึกภาพการทำงานป้องกันเจ้าของสินค้าฟ้องร้องภายหลังจึงค้นหาจุดที่ตรวจพบค่ารังสีมากที่สุด ก่อนจะทำการผลักดันออกนอกอราณาเขตทะเลไทย ตามมติให้สกัดกั้นและยับยั้งไม่ให้เรือลักษณะนี้เข้ามาในทะเลอาณาเขตของประเทศไทย


ขณะที่สถานการณ์ฝึกการแก้ไขปัญหาเรือประมงไทยที่ทำการประมงโดยผิดกฎหมายและกระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในน่านน้ำไทย เป็นการสมมติสถานการณ์หลัง ศรชล.ได้รับแจ้งจากแหล่งข่าวว่ามีเรือประมงพาณิชย์ สัญชาติไทย ลักลอบนำแรงงานต่างชาติจากฝั่งไปทำการประมงในทะเล และยังมีการรับซื้อสัตว์น้ำจากเรือประมงประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับ มีการทำร้ายร่างกายลูกเรือ ศรชล.จึงสั่งการให้จัดเรือและอากาศยาน ออกลาดตระเวนค้นหา และเข้าให้การช่วยเหลือลูกเรือในเรือประ มงลำดัง กล่าว พร้อมจัดเรือเข้าร่วมตรวจเรือประมงต้องสงสัย โดยส่งชุดตรวจค้นเข้าทำการขึ้นตรวจค้น และจัดส่งชุดสหวิชาชีพ ของทุกหน่วยฝึกปฏิบัติร่วมกันในการขึ้นตรวจค้น และถ้าหากตรวจพบมีการกระทำความผิด แต่ละหน่วยงานจะแจ้งดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
สำหรับศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ให้ความ สำคัญในการพัฒนาองค์บุคคลของ ศรชล. ซึ่งประกอบด้วยกำลังพลจากหน่วยงานหลัก 6 หน่วยงาน อันได้แก่ กองทัพเรือ กองบังคับการตำรวจน้ำ กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยในปีนี้ได้มุ่งเน้นการพัฒนาขีดความ สามารถขององค์บุคคลในการปฏิบัติการตรวจค้น เพื่อการป้องกัน และปราบปราม ภัยคุกคามด้านความมั่นคงทางทะเลของไทย ได้แก่ การทำการประมงโดยผิดกฎหมาย การกระทำผิดกฎหมายในทะเลในลักษณะต่าง ๆ และการลำเลียงสารกัมมันตภาพรังสี นิวเคลียร์ เคมี และชีวะ (CBRN) และอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูงเข้ามายังน่านน้ำไทย การอบรมประกอบ ด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ การอบรมแลกเปลี่ยนความรู้ และการฝึกปัญหาที่บังคับการ และการฝึกภาคสนาม ในการอบรมได้รับการสนับสนุนวิทยากรผู้ทรงคุณวุติจาก สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กองบังคับการตำรวจน้ำ และกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ โดยผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ของ ศรชล.และจะทำการอบรมให้ความรู้ในระหว่างวันที่ 6 และ 7 ส.ค.61 จากนั้นจะทำการฝึกปัญ หาที่บังคับการ ในวันที่ 8 และ 9 ส.ค.61 และ ทำการฝึกภาคสนามในวันที่ 10 ส.ค.61 ในพื้นที่ด้านตะวัน ออกของเกาะแสมสาร โดย ศรชล.เขต 1 เป็นหน่วยควบคุมการปฏิบัติ มีกำลังพลและกำลังทางเรือของทุกหน่วยงานใน ศรชล.เข้าร่วมการฝึก

นิราช ทิพย์ศรี /นันทพล ทิพย์ศรี อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 082-9144646 094-5565622 /086-3684323

Related posts